ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางกัลยาวีร์ อาจสาลี โรงเรียนประชาพัฒนศึกษา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน ประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิธีการวิจัยได้ประยุกต์ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง แบบที่มีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวและมีการทดสอบ ก่อนทดลองและทดสอบหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนประชาพัฒนศึกษา อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ ค31102 เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการคำนวณหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 77.23 /77.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
- ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.62 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน การเรียงสับเปลี่ยน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนประกอบกิจกรรมปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
= 4.70, S.D.= 0.465