รายงานการพัฒนาวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง          รายงานการพัฒนาวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้วิจัย         อาภาภรณ์  วงค์คำจันทร์

ปีที่รายงาน       2562

                                           บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาวิธีการสอนแบบเน้นทักษะการปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  2) สร้างและพัฒนาวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลองใช้วิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) ประเมินผลวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนและแบบสัมภาษณ์ความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง งานประดิษฐ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/ E2 ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและ   ในท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คือ นักเรียนขาดทักษะในการปฏิบัติงาน ไม่สามารถวางแผนในการทำงาน ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ยังไม่ถูกวิธี ไม่มีลำดับขั้นตอนในการทำงานและขาดความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานประดิษฐ์ ผู้วิจัยจึงได้หาแนวทางในการพัฒนา ด้วยการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบเน้นทักษะการปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  2. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 88.05 / 87.01 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่กำหนดไว้
  3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่นสูงกว่าก่อนเรียน
  4. นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน หลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100
  5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ I – A – C – A เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @