ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางหทัยรัตน์ หิ่มเก่า
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D ) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เสริมด้วยวิธีการเชิงปริมาณ(Quantitative Methods) มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและ ความต้องการสำหรับพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ เอกสารพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553 หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกสารประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารแนวคิด ทฤษฏี หลักการ เนื้อหาสาระ รูปแบบ วิธีการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาผู้นำชุมชนและนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา แหล่งข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน(ประชาธิปถัมถ์) เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบและการประเมินความพึงพอใจ แหล่งข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมถ์) เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
- การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นกิจกรรมการเรียน การสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553 ที่มุ่งสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สอดคล้องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้กำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ ซึ่งสมรรถนะสำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน (สมศ.) มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระ เป็นไปตามเกณฑ์ และตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ และยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำชุมชนที่ต้องการให้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ต้องการมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียน รับผิดชอบการเรียนของตนเอง ลงมือปฏิบัติจริง และมีการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคล อื่น ๆ ดังนั้น ความรู้ที่ได้จึงเกิดจากการที่นักเรียนสร้างขึ้นเองจากการทำกิจกรรมการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบุคคลอื่น ๆ และจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนจะนำความรู้ใหม่รวมกับความรู้เดิม เกิดเป็น การขยายความรู้ หรือความรู้ใหม่ขึ้นเองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้พร้อมกับการเกิดชิ้นงานจากการปฏิบัติงานขึ้นและนำเสนอ ต่อชั้นเรียนต่อไป โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ ในลักษณะของรูปแบบการเรียนการสอนขึ้น มีองค์ประกอบด้านครูผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานและกระบวนการสอนให้นักเรียนฝึกปฏิบัติงานได้ จัดหาสื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเต็มที่ ด้านรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning มีขั้นตอนการจัดการเรียน การสอนที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานไปทีละขั้น นำสถานการณ์ ปัญหา หรือเนื้อหาสาระการเรียนรู้มาให้นักเรียนได้ ฝึกปฏิบัติ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอผลงาน ด้านการประเมินผลได้มีวิธีการวัดผลและประเมินผล ที่หลากหลาย ระหว่างเรียน หลังเรียน และต้องการให้รูปแบบการเรียนการสอนนี้เป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนในการที่จะนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “IPCCE Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ปัจจัยสนับสนุน และเงื่อนไขสำคัญในการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จใช้โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นระบุประเด็นปัญหา (Identification of problems : I) 2) ขั้นวางแผนดำเนินงาน (Planning process: P) 3) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Creation of Knowledge: C) 4) ขั้นใช้วิจารณญาณเชื่อมโยง (Critical linking steps: C) 5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Evaluation ) : E มีผลการตรวจสอบความเหมาะสม/ความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง (Construct Validity)และความเที่ยงตรงของเนื้อหา( Content Validity) ภาษาที่ใช้มีความเหมาะสม/สอดคล้องของประเด็นในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ มีค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.97 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.09
- การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.57/81.27 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 การประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.22 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.06 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 2.24 ผลการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับ ดีมาก
3.4 การประเมินความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.48 จากคะแนนเต็ม 48 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 ผลการประเมินความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
- การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน