การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

KRUPUNMAI SHARE

การวิจัยเรื่อง   :    การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
“การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

ผู้วิจัย               :    อนันต์ศักดิ์  ภูพลผัน

สถานศึกษา    :     โรงเรียนไชยวานวิทยา

ปีที่วิจัย              2560

 

                                                        บทคัดย่อ

 

การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้  “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนไชยวานวิทยา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โรงเรียนไชยวานวิทยา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้าง
การจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนไชยวานวิทยา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนไชยวานวิทยา  กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลได้แก่ รองผู้อำนวยการ ครูผู้สอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ทรงคุณวุฒิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  และแบบประเมินที่มีค่าความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย (Mean)     ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้”ของโรงเรียนไชยวานวิทยา ประกอบด้วยคณะบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร 5 คณะ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วม   ในการบริหาร 7 ขั้นตอน 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การวางแผน 3) การตัดสินใจ 4) การสนับสนุน 5) การดำเนินการ 6) การประเมินผล และ 7) การรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น

ผลทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้   “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”ของโรงเรียนไชยวานวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด   และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2559 คะแนนการทดสอบ ขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไชยวานวิทยา   ปีการศึกษา 2559 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2558 และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   ต่อรูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนไชยวานวิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @