ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้ศึกษา นางจริยา ถาปินตา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่รายงาน 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (2) สร้างและพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผล 0.5 (3) เปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่และ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสรุปผลการประเมินพัฒนาการ และแบบสังเกตความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content Analysis) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าประสิทธิภาพ (,) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
- โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่เคยมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ Unplugged Coding ในระดับปฐมวัย ตามนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งนักเรียนและครูยังขาดสื่อ อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ส่งเสริมพัฒนาการให้กับนักเรียนปฐมวัยอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะด้านที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนผู้วิจัยจึงได้หาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมุ่งเน้นที่การนำ Unplugged Coding มาใช้ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนเป็นองค์รวมทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้กับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบให้เหมาะสมกับวัยแลสอดคล้องตามบริบทของโรงเรียน
- แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 20 แผนประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม สาระสำคัญ จุดประสงค์ของกิจกรรม สาระการเรียนรู้ วิธีการดำเนินกิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล เครื่องมือการวัดและการประเมินผล และเกณฑ์การประเมินผล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 95.15/95.28 และดัชนีประสิทธิผล 0.6850 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นักเรียน มีพัฒนาการก้าวหน้ากว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้
- นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีความ พึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
= 2.78,S.D. = 0.07)