การพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม
สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย               นางชนิสรา  อริยะเดชช์

หน่วยงาน        โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ   เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด

ปีที่วิจัย            2561

 

                                             บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI          กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1  โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ  เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด  ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2561 จำนวน 28  คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)  เนื่องจากการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถทุกห้อง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  ชุดการเรียนรู้เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 เล่ม เล่มที่ 1 จำนวน 4 ชุด เล่มที่ 2 จำนวน 4 ชุด และเล่มที่ 3 จำนวน 6 ชุด รวมทั้งสิ้น 14  ชุด  2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI  เรื่อง  ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  14 แผน ทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อ (P) ตั้งแต่  0.37-0.76  ค่าอำนาจจำแนก  (B)  ระหว่าง 0.44 ถึง 0.80  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89  และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวก   การลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ   มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  ได้แก่  ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ()          ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ การทดสอบค่าที  (t-test  Dependent  Sample)

 

ผลการวิจัย  พบว่า 

  1. ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.51/78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  (75/75)
  1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีค่าเท่ากับ 0.5787 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็น  ร้อยละ 57.87
  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  1. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.67 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  เท่ากับ 0.33

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @