การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ  การเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ
การเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้รายงาน         นางสาวธัญนันท์  โบราณกุล

ปีการศึกษา      ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2561

สถานศึกษา      โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา  เทศบาลเมืองหนองคาย

 

                                                   บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันและและสภาพที่คาดหวังที่ครูผู้สอนต้องการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาและให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สภาพปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษายังไม่บรรลุเป้าหมายตามสภาพที่คาดหวัง เนื่องจากการเรียนการสอนของครูไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ไม่ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล ทำให้นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์แบบท่องจำไม่มีเหตุผล ลืมง่าย และครูมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ โดยเน้นพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพิ่มความสามารถในการให้เหตุผลและคิดแก้ปัญหาไปพร้อมกับพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกันและฝึกฝนด้วยตนเอง ได้เผชิญปัญหาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
  2. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า IPCCAE Model มีองค์ประกอบหลักคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุน และรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : I) ขั้นที่ 2 ขั้นเผชิญปัญหา (Problem : P) ทำความเข้าใจปัญหาและข้อความของปัญหาให้ชัดเจน ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) แบ่งเป็น 2 ขั้น 3.1 ขั้นการวิเคราะห์หาคำตอบ 3.2 ขั้นนำเสนอคำตอบและให้เหตุผล ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป (Conclusion : C) สรุปองค์ความรู้และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาและให้เหตุผล ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้ (Application : A) เป็นขั้นที่นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปในการทดสอบและประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัญหาอื่น ๆ ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) ประเมินผลจากแบบทดสอบและแบบประเมินต่าง ๆ
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3.1 รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.27/84.35 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 91.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  1. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก =4.45   S.D= 0.56
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @