การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่องการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE

เรื่อง     :  การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่องการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล
วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สุราษฎร์ธานี เขต 2

ผู้ศึกษา    :  นุชจิรา  แดงวันสี

ตำแหน่ง   :  ศึกษานิเทศก์

คำสำคัญ   : การพัฒนา, ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง, การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล

 

                                                    บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่องการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง (3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่ศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง และ (4) เพื่อศึกษาผลการสร้างข้อสอบของครูที่ศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือการทดลองแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนและหลังศึกษาชุดฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 29 คน ทุกโรงเรียนในอำเภอไชยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองจำนวน 5 ชุด แบบทดสอบเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่า 0.27-0.77  ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่า 0.20-0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 แบบนิเทศติดตามการสร้างข้อสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบสมมติฐาน ใช้ t-test (dependent samples) ผลการวิจัยพบว่าชุดฝึกรมด้วยตนเองมีทั้งหมด 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เล่มที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล เล่มที่ 3 การสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ เล่มที่ 4 การสร้างข้อสอบแบบเขียนตอบ และเล่มที่ 5 การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล มีดัชนีความสอดคล้องในภาพรวมเท่ากับ 0.94  ชุดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 85.67/86.11 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ผู้อบรมมีคะแนนผลการทดสอบหลังการศึกษาชุดฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการศึกษาชุดฝึกอบรม (t = 22.73) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ครูมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมด้วยตนเองอยู่ในระดับมาก ผู้อบรมปฏิบัติการสร้างข้อสอบในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และข้อสอบมีความสอดคล้องและเหมาะสม

ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่ผลงานวิชาการที่นี่

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

บทความทางวิชาการ บทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @