การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง                การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย                  นางนิตยา  พรมกอง

โรงเรียน             บัวใหญ่  ปีที่พิมพ์  2562

 

                                                       บทคัดย่อ

 

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  และ  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/2  โรงเรียนบัวใหญ่  อำเภอบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2562  จำนวน  38  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)  ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนใช้วิธีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถของนักเรียน  นักเรียนแต่ละห้องมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4  ชนิด  คือ  1)  แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน  14 แผน  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ซึ่งเป็นแบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ  4 ตัวเลือก  จำนวน  30 ข้อ  มีค่าความยากง่าย (p)  อยู่ระหว่าง 0.28 -0.72 หาค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง  0.33-0.67  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  เท่ากับ 0.81 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  ซึ่งเป็นแบบอัตนัย  จำนวน  3  ข้อ  มีค่าความยากตั้งแต่  0.55 – 0.68  ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.43 – 0.82  ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96  4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating  Scale)  จำนวน 20 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.33-0.71  และค่าความเชื่อมั่น ()  เท่ากับ  0.91  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test  for  Dependent  Sample)

 

ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้

  1. ผลการศึกษาข้อมูลข้อมูลพื้นฐานพบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ  เนื่องจากคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด  ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล  เป็นระบบ  แบบแผน  สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้  ช่วยให้คาดการณ์  วางแผน  ตัดสินใจ  แก้ปัญหา  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  และยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ  คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต  ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  อีกทั้งการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน  มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  มีความรับผิดชอบร่วมกัน  และสามารถทำให้นักเรียนคิด  วิเคราะห์  ให้เหตุผล  สื่อความหมาย  และรวมถึงการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ยังส่งเสริมความคิดอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  คือมีความคิดริเริ่ม  คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น  และคิดละเอียดลออ  และสำหรับการสำรวจความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอน  พบว่า  ต้องการให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
  1. รูปแบบการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีขั้นตอน  ดังนี้  1) ขั้นการกระตุ้นความพร้อม (Encouragement  and  Preparation : E)  2) ขั้นการทบทวนความรู้เดิม  (Reviewing  knowledge : R)  3) ขั้นการนำเสนอปัญหาปลายเปิด  (Posing  open-ended  problem : P)  4) ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนและกลุ่ม  (Students’ self  learning : S)  5) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน  (Application  of  knowledge and Solve  problems  together : A)  6) ขั้นสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน  (Summarization  through  connection  students’ mathematical  ideas  emerged  in  the  classroom : S)  มีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า  0.50  และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามีเกณฑ์  80/80  ที่กำหนดไว้
  1. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
  1. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  พบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรูปด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach)  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)   เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  อยู่ในระดับมากที่สุดและสอดคล้องกัน
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @