การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับแบบฝึกทักษะเรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง            การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย              นางนิตยา  พรมกอง

โรงเรียน         บัวใหญ่  ปีที่พิมพ์  2561

 

                                                       บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2)  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  และจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ  80  ขึ้นไป  3)  เพื่อศึกษากระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะ  และ  4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5  ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3  รหัสวิชา ค22101  ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2561  โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา  จำนวน  40  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แบ่งออกเป็น 3  ประเภท  คือ  1)  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  จำนวน 12  แผน  12  ชั่วโมง  2)  เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ  ได้แก่  แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัย  แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน  แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  3)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ได้แก่  แบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ  แบบปรนัยชนิด 4  ตัวเลือก  วงจรละ  10  ข้อ  และแบบอัตนัย  เพื่อวัดทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  จำนวน  2  ข้อ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน  30  ข้อ  แบบปรนัยชนิด  4  ตัวเลือก  แบบอัตนัยเพื่อวัดทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  จำนวน  2  ข้อ  รูปแบบวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวงจรปฏิบัติการ  3  วงจร  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าร้อยละและสรุปความเรียง

 

ผลการวิจัย  พบว่า

  1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  เป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ  กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับการปฏิบัติ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา  4  ขั้นตอน  ในการแก้สถานการณ์ปัญหา  ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  7  ขั้นตอน  ดังนี้  1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม  เป็นขั้นตอนการดึงความรู้เดิมของนักเรียน  เพื่อใช้ในการเชื่องโยงกับความรู้ใหม่  โดยการใช้เทคนิคการถาม-ตอบ  เพื่อกระตุ้นความคิดและความสนใจของนักเรียน  2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่  นักเรียนจะแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่จากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ  จากแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยเตรียมให้ด้วยตนเองขั้นศึกษาและสร้างความเข้าใจข้อมูลและเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม  เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลความรู้ใหม่ที่หามาได้โดยอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม  และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของโพลยาในการแก้สถานการณ์ปัญหา  ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นทำความเข้าใจปัญหา  ขั้นการวางแผนแก้ปัญหา  ขั้นดำเนินการตามแผน  และขั้นตรวจสอบ  สรุป  อภิปรายผล  4. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้เข้ากับกลุ่ม ขั้นตอนนี้นักเรียนจะอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจที่นักเรียนสร้างขึ้น  ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดของตนเอง  รวมทั้งนักเรียนจะได้ขยายความรู้ ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น  และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของโพลยาในการแก้สถานการณ์ปัญหา  ซึ่งมี 4  ขั้นตอน  5.  ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้  ขั้นตอนนี้นักเรียนจะจัดระเบียบความรู้ที่ได้รับทั้งหมด  ทั้งที่ความรู้เดิมและความรู้ใหม่ จัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ  เพื่อช่วยให้นักเรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย  รวมทั้งวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น  6. ขั้นแสดงผลงานขั้นตอนนี้นักเรียนแต่ละกลุ่มจะได้แสดงผลงานที่ได้ทำมา  โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนหรือนำเสนอบนป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้  ขั้นตอนนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนได้นำความรู้ความเข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้  ฝึกฝน  จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีคะแนนจากการทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 1, 2  และ 3  คิดเป็นร้อยละ  79.75,  81.75  และ  82.25  ตามลำดับ
  1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model)  ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  ของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ  81.58 และจำนวนนักเรียนร้อยละ  82.50  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ  80  ขึ้นไป
  2. การศึกษากระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  โดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับแบบฝึกทักษะ  โดยใช้แบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ  แบบอัตนัย  วงจรละ 2 ข้อ  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบอัตนัย 2 ข้อ  พบว่า  ผลคะแนนจากการทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 1, 2 และ 3  คิดเป็นร้อยละ  79.50, 82.25 และ 82.75  ตามลำดับ  และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ  82.00 และจำนวนนักเรียนร้อยละ  82.50  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ  80  ขึ้นไป
  1. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA  Model) ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  อยู่ในระดับมากที่สุด  ()

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @