ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562
ผู้รายงาน นายถาวร เวชจันทร์
ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพม.14
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2561-2562
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยของโครงการ 2) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ 3) ประเมินผลผลิตของโครงการ และ4) ประเมินผลลัพท์ของโครงการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 51 คน ครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 317 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 303 คน และเครือข่ายการนิเทศการศึกษา ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้โปรแกรม SPSS Version 18 ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.84-0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
- ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของเครือข่ายการนิเทศ ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย =96, S.D.= .33 และ ค่าเฉลี่ย= 4.70, S.D.= .47) ได้คะแนนเฉลี่ย 3 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านความเพียงพอของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.93, S.D.= .38 และค่าเฉลี่ย= 4.66, S.D.= .47) ได้คะแนนเฉลี่ย 3 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านสื่อ/เครื่องมือการนิเทศ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.95, S.D.= .34 และ = 4.76, S.D.= .41) ได้คะแนนเฉลี่ย 3 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านกิจกรรมการนิเทศ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 3.97, S.D.= .29 และ = 4.73, S.D.= .44) ได้คะแนนเฉลี่ย 3 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.03, S.D.= .31 และ= 4.79, S.D.= .41) ได้คะแนนเฉลี่ย 3 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
- ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู โดยรวมทั้ง 2 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 91 , S.D. = .21 และ = 4.75 , S.D.= .14) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 3.86, S.D. = . 23 และค่าเฉลี่ย= 4.78, S.D. = .17) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด สรุปผลการประเมิน ด้านกระบวนการค่าน้ำหนัก 20 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการฯ ได้แก่
3.1 ผลการประเมินผลผลิตด้านคุณภาพการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเครือข่ายการนิเทศ โดยรวมทั้ง 3 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.03, S.D. = .19 และค่าเฉลี่ย= 4.72, S.D. = .37) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย= 3.93 , S.D. = .20 และ = 4.72 , S.D.= .35) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนเครือข่ายการนิเทศ/มีความคิดเห็นคุณภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 3.80, S.D. = .28 และ = 4.66 , S.D.= .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
3.2 ผลการประเมินผลผลิตเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเครือข่ายการนิเทศ โดยรวมทั้ง 3 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 3.77 , S.D. = .46 และ ค่าเฉลี่ย= 4.68 , S.D.= .33) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 3.74, S.D.= .61 และ ค่าเฉลี่ย= 4.77, S.D.= .44) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เครือข่ายการนิเทศมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 3.78 , S.D. = .49 และค่าเฉลี่ย=4.73, S.D. = .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
- ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการ ได้แก่
4.1 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นคนดีที่เป็นแบบอย่างของผู้บริหารสถานศึกษาหลังดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของครู ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 พบว่า ด้านจิตสาธารณะ/จิตอาสา อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.52 , S.D.= .61 และ = 4.66 , S.D.= .61) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาคือ ด้านความพอเพียง อยู่ในระดับปานกลาง –มากที่สุด ค่าเฉลี่ย= 3.50 , S.D.= .63 และ ค่าเฉลี่ย= 4.62 , S.D.= .61) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนด้านความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับปานกลาง-มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดค่าเฉลี่ย= 3.46 , S.D.= .62) และ = 4.52 , S.D.=.59) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เช่นกัน
4.2 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นคนดีที่เป็นแบบอย่างของครูหลังดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 พบว่า ด้านความพอเพียง อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ค่าเฉลี่ย= 3.60 , S.D.= .58 และ = 4.75 , S.D.= .47) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาคือ ด้านมีวินัย และความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับมาก–มากที่สุด ค่าเฉลี่ย= 3.57 , S.D.= .61 และ ค่าเฉลี่ย= 4.72,4.73 , S.D.= .51,.48) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนด้านจิตสาธารณะ/จิตอาสา อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด = 3.56 , S.D.= .57 และ ค่าเฉลี่ย= 4.72 , S.D.=.53) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เช่นกัน
4.3 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นคนดีที่เป็นแบบอย่างของนักเรียนหลังดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของครู ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน ปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ด้านความพอเพียง อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดค่าเฉลี่ย= 3.56 , S.D.= .59 และ = 4.59 , S.D.= .54) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาคือ ด้านมีวินัย อยู่ในระดับมาก–มากที่สุด (= 3.52 , S.D.= .61 และ = 4.56 , S.D.= .60) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนด้านจิตสาธารณะ/จิตอาสา อยู่ในระดับปานกลาง-มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด = 3.50 , S.D.= .59 และ = 4.57 , S.D.=.55) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
จากการประเมินผลการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดี โดยใช้กิจกรรมนิเทศ 5 ลักษณะ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ปีการศึกษา 2561-2562 ครั้งนี้ทำให้ค้นพบจุดเด่นด้านกิจกรรมนิเทศ ที่ส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศ และผู้เกี่ยวข้องได้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดีตามจุดเน้นที่ สพม.14 กำหนด กิจกรรมนิเทศเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูงนักเรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และซึมซับความเป็นคนดี และกิจกรรมนิเทศ เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศใช้เครือข่าย (Professional Learning Community : PLC) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนิเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาโรงเรียนเสริมสร้างคนดีต่อไป
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้
- ศึกษานิเทศก์ ควรจัดกิจกรรมประชุมชี้แจง ผู้เกี่ยวข้อง และผู้รับการนิเทศได้เกิดองค์ความรู้ เกี่ยวกับนโยบาย และจุดเน้นที่ สพม.14 กำหนด เพื่อสร้างความตระหนัก และความเข้าใจร่วมกัน และจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม Focus Group เกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างความเป็นคนดีจากกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองเครือข่าย อีกทั้งควรจัดกิจกรรม ถอดบทเรียนวิธีการปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความเป็นคนดีที่ภาคภูมิใจ และนำสิ่งดีดีที่ได้จากกิจกรรม ดังกล่าวมารวบรวมประมวลผลเป็นสื่อนิเทศเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อไป
- ศึกษานิเทศก์ ควรจัดกิจกรรมถอดบทเรียน การจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถบูรณาการความเป็นคนดีไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อนำไปประมวล และสังเคราะห์เป็นรูปแบบ/เทคนิค การจัดการเรียนรู้บูรณาการความเป็นคนดีในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ไปเผยแพร่อย่างกว้างขวางโดยใช้สื่อนิเทศเอกสาร หรือใช้สื่อเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เพื่อการเข้าถึงของครู อย่างกว้างขวางและทั่วถึง
- ศึกษานิเทศก์ ควรนำวิธีการปฏิบัติที่ดีของนักเรียน ครู หรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้ดำเนินการเสริมสร้างความเป็นคนดี “ผ่านกิจกรรมโครงงาน” และหรือ “กิจกรรมที่หลากหลาย” เผยแพร่อย่างกว้างขวางโดยประมวล รวบรวม เป็นสื่อเอกสารในการนิเทศ หรือใช้รูปแบบการนิเทศทางไกล โดยใช้ Facebook Line เว็บบล็อก หรือเพจ หรือคลิปวีดิโอ “ถอดบทเรียน” เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการนิเทศ และให้แนวทางการปฏิบัติที่ดีที่เป็นแบบอย่างแก่ผู้รับการนิเทศอย่างแยบยล
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
- ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความยั่งยืน
- ควรศึกษาผลกระทบของความเป็นคนดีที่เป็นแบบอย่างของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา และนักเรียนที่มีต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ