การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา  เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา
เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย    พีรพล เพื่อตนเอง

สังกัด        โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านหล่าย  เทศบาลตำบลสบปราบ  อำเภอสบปราบ
จังหวัดลำปาง

ปีการศึกษา  2562

 

                        บทคัดย่อ

 

                 การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม  การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถ          ในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา  เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค      จิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้      แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านหล่าย ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง สังกัดเทศบาลตำบลสบปราบ จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม   2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้ และ 6) แบบสำรวจความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านหล่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาเรื่อง การเขียนสะกดคำ วิชาภาษาไทย เวลา 22 ชั่วโมง ประกอบด้วยเนื้อหา 1) มาตราแม่ ก กา 2) มาตราแม่กง 3) มาตราแม่กม 4) มาตราแม่เกย  5) มาตราแม่เกอว 6) มาตราแม่กก 7) มาตราแม่กบ 8) มาตราแม่กน และ 9) มาตราแม่กด สำหรับองค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ มีดังนี้ ชื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คำนำ      คำชี้แจง สารบัญ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนด้วย    ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมกลุ่มย่อย ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกฝน ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป ขั้นที่ 6 ขั้นทดสอบย่อย และขั้นที่ 7 ขั้นประเมินและยกย่องผลสำเร็จ
  2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ผลการทดสอบระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.37 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.10 แสดงว่า ประสิทธิภาพ 83.37/82.10 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
  1. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบ เกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านหล่าย ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 22 ชั่วโมง จำนวน 10 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับการทดลองนั้น ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนดำเนินการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 10 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 มาตราแม่ ก กา ชุดที่ 2 มาตราแม่กง ชุดที่ 3 มาตราแม่กม ชุดที่ 4 มาตราแม่เกย ชุดที่ 5 มาตราแม่เกอว ชุดที่ 6 มาตราแม่กก   ชุดที่ 7 มาตราแม่กบ ชุดที่ 8 มาตราแม่กน ชุดที่ 9 มาตราแม่กด 1 และชุดที่ 10 มาตราแม่กด 2 ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ทั้ง 7 ขั้นตอน ซึ่งเมื่อนักเรียนได้รับการฝึกฝน และให้ความสนใจในการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ จึงส่งผลทำให้บรรยากาศในชั้นเรียน      เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอนมากขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้ระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น
  2. ผลการประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอนดังนี้

                          4.1 ผลการประเมินความสามารถในการเรียนรู้ ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความสามารถในการเรียนรู้หลังใช้   ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

                         4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ  ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี    ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับดี ในทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ    ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านประโยชน์ที่ได้รับและด้านบรรยากาศในการเรียนรู้และให้นักเรียนเขียนแสดงความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนจะชอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาไม่ยากจนเกินไป และเข้าใจง่าย เนื่องจากระดับความยากง่ายมีความเหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน รวมถึงมีบรรยากาศในชั้นเรียนที่สนุกสนาน ตลอดจนครูผู้สอนสามารถทำให้การเขียนสะกดคำในวิชาภาษาไทย จากเรื่องยากให้เป็นที่เข้าใจของนักเรียนได้ง่ายขึ้น จะส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นตามลำดับ

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @