การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง      :    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถ

ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย        :    ฌาณิดา   แก้วคง

สถานศึกษา :    โรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

ปีการศึกษา :    2562

 

                                           บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (ตลาดล่าง) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ได้มาจาก การสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 17 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ  4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) 0.85  4) แบบวัดความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น         ( ) 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples)

ผลการศึกษา พบว่า

สภาพปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนเทศบาลสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-Bar=3.96 S.D.=0.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทักษะการเขียน มีสภาพปัญหามากที่สุด (X-Bar =4.27 S.D.=0.38) รองลงมา คือ ด้านทักษะการอ่าน ( X-Bar=4.08 S.D.=0.36) และน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะการพูด ( X-Bar=3.72 S.D.=0.44)

ความต้องการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนเทศบาลสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี   ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-Bar=4.27 S.D.=0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทักษะการเขียน           มีความต้องการมากที่สุด (X-Bar =4.51 S.D.=0.29) รองลงมา คือ ด้านทักษะการอ่าน ( X-Bar=4.24 S.D.= 0.25) และน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะการพูด ( X-Bar=4.13 S.D.=0.34)

ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติน้อย ( X-Bar=2.44 S.D.=0.34)

รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. แนวคิดทฤษฎี  2. วัตถุประสงค์  3. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 3.1 ขั้นการสร้างความสนใจ (Engagement) 3.2 ขั้นร่วมกันคิดอย่างละเอียดลออเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน (Elaborate to Create)  3.3 ขั้นการคิดเชื่อมโยงเพื่อนำเสนอ (Thinking)  3.4 ขั้นการสรุปความรู้ (Conclusion) และ3.5 ขั้นการวัดและประเมินผล (Evaluation) 4. เนื้อหาสาระ และ 5. การวัดและประเมินผล

รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/82.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย EETCE เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.64 S.D=0.24)

ดาว์นโหลดผลงานวิชาการที่นี่

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @