การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง     : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย
ตนเอง  ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้ทำการวิจัย : นางจิราวรรณ  เทาศิริ  ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2559 – 2561

 

                                                    บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง     ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการ           คิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80       3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นขั้นตอนการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6     ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นขั้นตอนการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา      สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นขั้นตอนศึกษาผล    การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นขั้นตอนการประเมินความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบการจัด การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์  5) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์    และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบ่งออก เป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากการที่นักเรียนเป็นผู้ลงมือทำกิจกรรม    ที่สอดคล้องกับความต้องการ ความถนัด และความสนใจของนักเรียน มีการจัดลำดับเนื้อหาสาระเป็นขั้นตอนย่อย ๆ จากสิ่งที่ง่ายไปหายาก ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ทฤษฏีการเรียนรู้แบบ Constructivist และการเรียนรู้แบบร่วมมือมากำหนดเป็นองค์ประกอบหลักของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้จากนักเรียน ครู ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน พบว่านักเรียนต้องการสร้างความรู้ด้วยตนเอง การระดมสมองร่วมกันในการคิดวิเคราะห์และสามารถประยุกต์ไปใช้ได้ ข้อมูลจากครูและผู้บริหารพบว่า ครูเน้นการสอนแบบบรรยาย นักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ครูยึดตำราและแผนการสอนสำเร็จรูปเพราะสะดวกในการจัดการเรียนรู้
  2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.21 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.63 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้    ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นี้สามารถนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการทดสอบด้านทักษะการคิดวิเคราะห์พบว่านักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  4. ผลการประเมินความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.50 , S.D. = 10.92) และนักเรียนส่วนใหญ่ชอบการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เกิดความสุขในการเรียนรู้ และเกิดความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่ม
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

บทความทางวิชาการ หน้าที่ของชายไทยกับการเกณฑ์ทหาร

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @