ชื่อเรื่อง | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นเรื่องระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
ผู้วิจัย | นางจิราวรรณ เทาศิริ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ |
ปีที่วิจัย | ปีการศึกษา 2562 |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ จำนวน 34 คน ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบทดสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31- 0.69 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.38 – 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.936 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test dependent samples)
ผลการวิจัย
- ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานครูเน้นการสอนแบบบรรยายเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาวิชาชีววิทยาที่มีจำนวนมากและง่ายต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพราะใช้เวลาน้อย ไม่ยุ่งยากในการเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนไม่สามารถสืบเสาะความรู้ได้หลากหลายวิธี ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
- ผลการประเมินประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.86 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.86 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
- ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง ระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.50 , S.D. = 92)