รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อผลงาน   :    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิด
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน  โรงเรียนเทศบาล 1
วัดแก่นเหล็ก
รัตนกะลัสอนุสรณ์)

ผู้จัดทำ ​​     :    นางสาววชิราภรณ์  จุลราลัย

หน่วยงา   :   โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)
สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบุรี
รมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ปีการศึกษา :   2561

​                                            บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของ โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)  2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)  4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากรของโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) ในปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วย ครู จำนวน 48 คน ผู้ปกครอง จำนวน 270 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 270 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้มาโดยการใช้ประชากรแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 603 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และร้อยละ (%)

ผลการศึกษา

1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด (4.87) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด  โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.79) ตัวชี้วัดความสดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายต้นสังกัด (4.91) และตัวชี้วัดความสอดคล้องของกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ (4.91)

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด (4.88) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ บุคลากรในการดำเนินโครงการ (4.96)  ตัวชี้วัดงบประมาณในการดำเนินโครงการ (4.84) และตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (4.85)

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด (4.78) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด  โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ การวางแผนของโครงการ (4.88) การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ (4.76) และตัวชี้วัดด้านการประเมินผลโครงการและการปรับปรุง (4.69)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด (4.78) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัด ทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้านการคิดพอประมาณ การคิดมีเหตุผลการคิดอย่างมีภูมิคุ้มกัน การคิดอย่างมีองค์ความรู้ การคิดอย่างมีคุณธรรม  และการคิดตัดสินใจอย่างเหมาะสม (4.82)  ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน (4.79) ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.69) และตัวชี้วัดคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ (4.83)
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

ผลการใช้แอปพลิเคชัน In-House พัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @