รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา ๒๕๖๒

KRUPUNMAI SHARE

ผู้รายงาน       นางอรอุมา  จันทร์รัตน์
โรงเรียนวัดจังโหลน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา  เขต ๒

ปีที่ประเมิน     ๒๕๖๒

                                                บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา  ๒๕๖๒  ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ  ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ  และด้านผลผลิตของโครงการ  โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP  Model) มาใช้ในการประเมิน  โดยใช้วิธีการประเมิน  โดยใช้วิธีการประเมินสามลักษณะ  คือการประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น  ใช้ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และใช้ผลการประเมินจากแบบบันทึกผลการระดมทรัพยากรตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้  ประกอบด้วย  ครู  จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  7 คน  ผู้ปกครอง  จำนวน 31 คน  และนักเรียน จำนวน 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) 5 ระดับและมีคำถามปลายเปิดจำนวน  6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ  โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง  ๐.๙๒- 0.๙๓  แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากร  จำนวน  ๔ ด้าน และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ ของโรงเรียน  ใช้บันทึกผลการประเมินตามาภาพจริง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical package  for  Social Sciences for Windows version ๑๖)  ผลการประเมินพบว่า

  1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินเพื่อพิจารณา รายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.64,S.D = .89) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก  = 3.63,S.D = .83) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
  2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก = 3.65,S.D = .66) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
  3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด= 3.71,S.D = .56) ได้คะแนน
    เฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุบประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก = 3.64,S.D = .77) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด = 3.63,S.D = .77) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
  4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่

4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

4.1.1 ด้านบุคคล โรงเรียนวัดจังโหลนได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านบุคคล ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ครู ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงบุคคลฝ่ายต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน อย่างต่อเนื่อง โดยปีการศึกษา 2562 ได้รับการสนับสนุน จำนวน 27 รายการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.1.2 ด้านงบประมาณ โรงเรียนวัดจังโหลนได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านงบประมาณ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ปีการศึกษา 2562 ได้รับการสนับสนุน จำนวน 33 ราย เป็นเงิน 493,423 บาท     (ผ่านเกณฑ์การประเมิน)

4.1.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนวัดจังโหลน ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จากผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยปีการศึกษา 2562 ได้รับการสนับสนุน จำนวน 19 รายการ คิดเป็นมูลค่า 95,927.30 บาท ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.1.4 ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนวัดจังโหลน สามารถระดมทรัพยากรด้านการบริหารจัดการโดยการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโรงเรียนปีการศึกษา 2562 อย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.2 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562   ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา รายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  = 3.75,S.D = .53) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก = 3.62,S.D = .73) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด = 3.60,S.D = .67) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา รายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด = 3.68,S.D = .64) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก = 3.67,S.D = .58) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.58,S.D = .54) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 พบว่า ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและดีเยี่ยม ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดจังโหลน ปีการศึกษา 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด = 3.67,S.D = .59) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก = 3.66,S.D = .67) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด = 3.53,S.D = .86) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

 

ข้อเสนอแนะ    

 

            ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

  1. โรงเรียนควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
  2. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดดิน จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบ และแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
  3. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการระดมทรัพยากรการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป

  1. ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐและเกิดความเสมอภาค
  2. ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน
  3. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @