การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน  โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต2

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง       การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน
โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต2

ผู้วิจัย         นายนพดล  เล็กบาง     

ปีที่รายงาน   2563      

                                                             บทคัดย่อ

 

การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้      1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 2) เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐานของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด  รวมทั้งหมด จำนวน 114 คน ประกอบด้วยครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน และนักเรียน จำนวน 50 คน  และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายด้านพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ รองลงมาคือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์
  2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายด้านพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้ ความสามารถของผู้รับผิดชอบโครงการ รองลงมาคือ ความพร้อม และเพียงพอของสถานที่ในการจัดกิจกรรม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุ ระยะเวลา และสื่อเทคโนโลยี
  3. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายด้านพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การวางแผนการดำเนินการ รองลงมาคือ ขั้นตอนการดำเนินงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การประเมินผลโครงการ
  4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกข้อ มี  1 ข้อที่อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ รองลงมาคือ มีแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน และข้อที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ มีสื่อเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและเพียงพอ
  5.  ผลการประเมินความพึงพอใจโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 7 ฐาน รองลงมาคือ กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน และข้อที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในห้องเรียน
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

ผลการใช้แอปพลิเคชัน In-House พัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @