ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางสาวเขมจิรา สุนทร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ติดต่อ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) เทศบาลเมืองชะอำ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิด เชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 และ (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ(ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
- ครู และนักเรียนมีความเห็นว่าจำเป็นและต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด การตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( IOC ³ 0.50 )
- ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ 1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดพื้นฐานของการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้ 4) แหล่งการเรียนรู้ 5) การประเมินการเรียนการสอน โดยในองค์ประกอบที่ 3 เนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้ ใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นให้สนใจด้วยปัญหา 2) ขั้นเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนา 3) ขั้นศึกษาวางแผนปฏิบัติการ 4) ขั้นสานต่อผลงานอย่างสร้างสรรค์ 5) ขั้นวิพากษ์ วิจารณ์และสรุปพลัน และ 6) ขั้นครบครันแนวทางพัฒนาและแก้ไข
- นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 25.68 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.60 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนทดสอบการคิดเชิงวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 26.18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.26 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- ระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมทั้งด้านรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และด้านความพึงพอใจ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก