การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ในการสอนด้านวิทยาศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย

KRUPUNMAI SHARE

การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ในการสอนด้านวิทยาศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย

Active Learning Management in Science Teaching at the University Level

*จรรยา  โท๊ะนาบุตร

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง

 

                                                                                   บทคัดย่อ

            กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า โดยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ที่ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและแนวทางของตัวผู้สอนเองสิ่งที่ต้องทำคือ “การลงมือทำ” เปรียบเสมือนการทำอาหาร ไม่มีใครทำอาหารเป็นมาตั้งแต่เกิด ตอนแรกเริ่มที่เรายังทำอาหารไม่เป็นก็ต้องเปิด “ตำราทำอาหาร” และทำตามขั้นตอนที่เขียนไว้ในตำรา โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวสามารถ “ปรุง” ให้เหมาะสม และถูกปากกับผู้รับประทานได้ เมื่อทำไปแล้วก็จะค่อยๆ ทำเป็นอาหารเป็น เกิดการเรียนรู้และทักษะ จนกระทั่งทำอาหารเป็นด้วยตนเอง ไม่ต้องเปิดตำราอีกต่อไป และสามารถที่จะ “ออกแบบ” หรือคิดค้น ตำราใหม่ๆ ด้วยตนเองได้

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก, ศตวรรษที่ 21, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

                                                                           Abstract

Active learning process helps learners to fully maintain their learning results and learn passive learning processes because Active Learning processes correspond to brain-related functions of memory by being able to store and remember things. Various Those who learn with participation, have roots with their friends, who teach the learning environment that has gone through real practice, can be kept during Long-term memory (memory) allows learning to remain in a larger amount than the longer term. The learning activity model according to the educational approach that focuses on the outcomes that the teacher can apply to suit the learners and the direction of the teacher himself. All that has to be done is to “act” like cooking. No one has been cooking since birth. At first, when we couldn’t cook, we had to turn it on. “Cookbook” and follow the steps written in the cookbook. In which the chef or chef can “cook” properly and meet the palate Once done, will gradually Cook Resulting in learning and skills Until cooking by oneself No need to open the textbook anymore. And able to “design” or create new textbooks by oneself

 

Key words:, Active Learning, 21st Century, learning outcome

ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่ฉบับเต็มที่นี่

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @