ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค
KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางเมตตา ทับศรีแก้ว
โรงเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้ง
นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการ
เรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึก
ทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการเปรียบเทียบผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและ
หลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค
KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการ
เรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูล
พื้นฐาน ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 ท่าน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45
คน ปีการศึกษา 2560 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึกทักษะ การเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการแก้ปัญหาตามเทคนิค
KWDL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 จำนวน 38 คน
โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นครราชสีมาซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน3 ชนิด คือ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้
แบบร่วมมือและเทคนิค KWDLรายวิชาคณิตศาสตร์ 2 รหัสวิชา ค31102 เรื่อง ความน่าจะเป็น
(Probability) (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ 2
รหัสวิชา ค31102 เรื่อง ความน่าจะเป็น(Probability) ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิด
เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการ
แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(X-Bar) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบค่าที่ (t – test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ศึกษาตอนปลาย พบว่า หลักสูตรมุ่งให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ตามศักยภาพ ในการพัฒนาความคิด ทำให้คิด อย่างมีเหตุผล เป็นระบบ แบบแผน สามารถ
วิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังเป็นเครื่องมือ ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
ให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ส่งเสริมความร่วมมือภายใน
กลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน มาทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ มีความ
รับผิดชอบร่วมกัน และสามารถทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ที่เป็นขั้นตอนในการแก้ปัญหา โดยสามารถ
สื่อสาร สื่อความหมาย เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา และ
ให้เหตุผล และการสำรวจความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอน พบว่า ต้องการให้มีการพัฒนา
สื่อที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียน แบบร่วมมือและเทคนิค
KWDL ที่มีขั้นตอนในการคิดวิเคราะห์ทำให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา ที่เป็นระบบ ร่วมกับ
แผนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความพร้อม 2) ขั้นนำเสนอเนื้อหาและเทคนิค
KWDL 3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่มและตรวจสอบผลงาน 4) ขั้นทดสอบย่อยและประเมินผลการทำงาน
กลุ่ม และ 5) ขั้นสรุปเนื้อหา
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ได้การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และมีประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 83.07/82.78
และเมื่อพิจารณาเป็นรายเล่มปรากฏว่าทุกเล่มมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
และเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ใน
ระดับมากที่สุด (X-Bar)= 4.62, S.D. = 0.69)