รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านความพอประมาณ โดยใช้นิทานภาพประกอบคำคล้องจอง  ชุดเรียนรู้อยู่พอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง            รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านความพอประมาณ โดยใช้นิทานภาพประกอบคำคล้องจอง 
ชุดเรียนรู้อยู่พอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1

ผู้รายงาน         นางสาวศิริภัทร  พวยฟุ้ง   ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

ปีที่พิมพ์          2561

บทคัดย่อ

รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านความพอประมาณ โดยใช้นิทานภาพประกอบคำคล้องจอง ชุดเรียนรู้  อยู่พอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของนิทานภาพประกอบคำคล้องจอง  ชุดเรียนรู้อยู่พอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  (2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านความพอประมาณ ก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทานภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจาะจง ได้แก่ เด็กชั้นปฐมวัย  ปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561  จำนวน 22 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสวรรคโลก จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ นิทานภาพประกอบคำคล้องจอง ชุดเรียนรู้  อยู่พอประมาณ จำนวน 8 เล่ม  แผนการจัดประสบการณ์จำนวน 32 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมด้านความพอประมาณของเด็กก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ฯ แบบสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการด้านความพอประมาณระหว่างการจัดประสบการณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent

 

สรุปผลการศึกษาพบว่า

 

  1. หนังสือนิทานภาพประกอบคำคล้องจอง  ชุดเรียนรู้อยู่พอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัย ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด คือ มีประสิทธิภาพ  84.32/ 92.20
  2.   ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านความพอประมาณ สำหรับชั้นปฐมวัยปีที่ 1  มีคะแนนพฤติกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @