รายงานการโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านใหม่เจริญธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง          รายงานการโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านใหม่เจริญธรรม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

ชื่อผู้ประเมิน    นางสาวมยุรี  ขวบสันเทียะ

ปีการศึกษา      2563

บทคัดย่อ

           การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านใหม่เจริญธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมิน  ด้านบริบท 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านใหม่เจริญธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านใหม่เจริญธรรม  มีทั้งหมด 275 คน ประกอบด้วย คณะครู จำนวน 18 คน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 124คน และ ผู้ปกครอง  จำนวน 124 คน ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า  5  ระดับ จำนวน 4  ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการประเมินโครงการ พบว่า

  1. การประเมินเกี่ยวกับบริบทตามความคิดเห็นของ คณะครู และ คณะกรรมการ สถานศึกษาฯ โดยประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความชัดเจน และความเป็นไปได้ของโครงการกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายโรงเรียน  และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ด้านสภาพของชุมชน และสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบัน โดยภาพรวม มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ตามความคิดเห็นของคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ เป็นการประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสม เพียงพอของงบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การให้การสนับสนุนของ ฝ่ายบริหาร ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน โดยภาพรวมทั้ง 4 กิจกรรม มีความเหมาะสม/เพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกเป็นรายกิจกรรม พบว่า  กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสม/เพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำที่สุด คือ กิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน มีความเหมาะสม/เพียงพอ อยู่ในระดับมาก

3. การประเมินกระบวนการตามความคิดเห็นของคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ  เป็นการประเมินด้านความร่วมมือของคณะทำงาน และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนการทำงาน   การดำเนินงาน  การนิเทศติดตาม ผลการดำเนินงาน จุดเด่น จุดด้อย และสิ่งที่ต้องการแก้ไขในการดำเนินงาน โดยภาพรวมทั้ง 4 กิจกรรม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เมื่อแยกเป็นรายกิจกรรม พบว่า  กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางวิชาการ

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @