รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง            รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน
                      โรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

ผู้ประเมิน          นายอดิวิชญ์  ทองหล่อ  ผู้อำนวยการวิทยฐานะชำนาญการ  โรงเรียนวัดสงฆาราม

ปีที่ประเมิน        ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านสภาวะแวดล้อม  (Context) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input)   3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน  (Process) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 111 คนได้แก่  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนโรงเรียนวัดสงฆาราม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยและผู้ปกครองนักเรียน  จำแนกเป็น นักเรียน จำนวน 50 คน และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินความสอดคล้องด้านสภาวะแวดล้อม (Context)  และประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ฉบับที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการ (Process) และฉบับที่ 3 – 4 แบบประเมินระดับการปฏิบัติด้านผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 และการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบรายงานผลการประเมินกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 สรุปได้  ดังนี้

ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พบว่า การดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต (Product) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการ (Process)

1.  สภาวะแวดล้อม (Context) โดยภาพรวมมีผลการประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.64, D.= 0.35) ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความสอดคล้องสูงที่สุด คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีผลการประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.85, S.D.=0.38) รองลงมา คือหลักการและเหตุผลของโครงการสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง, วัตถุประสงค์ของโครงการสามารถทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจน  และวัตถุประสงค์ของโครงการสามารถกำหนดตัวชี้วัดได้อย่างชัดเจนมีผลการประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X=4.77, S.D.= 0.60, S.D.= 0.44 และ S.D.= 0.44) ตามลำดับ และหลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องและมีความชัดเจน, หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสัมพันธ์กับสภาพปัจจุบันปัญหาของสถานศึกษา และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจงโดยมีผลการประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.69, S.D.= 0.48) ข้อที่มีความสอดคล้องต่ำที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันของบุคลากรในการปฏิบัติและแก้ไขปัญหา โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก   มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  (X=4.31, S.D.= 0.63)

1.2.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยภาพรวม มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ใน                   ระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.47, S.D.= 0.28) ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ ระดับความเหมาะสมสูงสุดได้แก่ บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโครงการและงบประมาณมีความสะดวกในการเบิกจ่าย โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.69, S.D.= 0.48) รองลงมาคือ มีแหล่งสนับสนุนงบประมาณ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.62, S.D.= 0.51) และ มีคำสั่งมอบหมายงานให้บุคลากรไว้อย่างชัดเจน, บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ และระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างชัดเจน โดยมีผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.54, S.D.= 0.52 และ S.D.= 0.66) ข้อที่มี ความเหมาะสมต่ำที่สุด คือ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในสภาพปัญหาที่ต้องการและให้ ความร่วมมือในการแก้ไขจนสำเร็จ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.15, S.D.= 0.38)

1.2.3 ด้านกระบวนการการดำเนินงาน ( Process) โดยภาพรวม มีผลประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.45, S.D.= 0.42) ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน                  เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมินทุกข้อ ระดับความเหมาะสมสูงที่สุด ได้แก่                 มีการแต่งตั้งคณะทำงานอย่างชัดเจน  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  (=4.69, S.D.= 0.48) รองลงมาคือ มีปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างชัดเจน , การดำเนินงานเป็นไปตามปฏิทินที่กำหนดไว้, การดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด และมีการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ                       (=4.62, S.D.= 0.51และ S.D.= 0.42) และการดำเนินงานเป็นไปตามปฏิทินกำหนดไว้ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.65, S.D.= 0.53) ข้อที่มีความเหมาะสมต่ำที่สุด คือ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการและ มีการติดตามประเมินผลทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.15, S.D.= 0.69)

1.2.4 ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมิน

1.2.4.1 ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก                     มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.45, S.D.= 0.24) ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกกิจกรรม กิจกรรมที่ 3 ห้องสมุดมีชีวิต มีผลการประเมินการปฏิบัติสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.63, S.D.= 0.48) รองลงมา คือ กิจกรรมที่ 5 วันสุนทรภู่และวันภาษาไทย โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.46, S.D.= 0.29) และ กิจกรรมที่ 2 ภาษาไทยวันละคำ โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.41,                     S.D.= 0.22) ผลการประเมินการปฏิบัติต่ำที่สุด คือ กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมรักการอ่าน  โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ (=4.39, S.D.= 0.33)

 

                        1.2.4.2 ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมตามโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสงฆาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พบว่า ในภาพรวมของกิจกรรมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D.= 0.32) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ คือ ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.78, S.D.= 0.47) รองลงมาได้แก่ ภาพรวมความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.76, S.D.= 0.43) และการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อท่าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.66, S.D.= 0.48) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้รับผิดชอบกิจกรรมสามารถให้ข้อมูล หรือตอบข้อซักถามได้เป็นอย่างดี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D.= 1.09) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป แสดงว่า ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตของโครงการมีความเหมาะสม

 

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @