การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่น ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

KRUPUNMAI SHARE

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่น
ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

นายสยาม เครือผักปัง
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา

                                      บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจ สร้าง ตรวจสอบ ทดลองใช้และรับรองรูปแบบ
ผู้วิจัยได้ด าเนินการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษางานวิจัย หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่
เกี่ยวข้องกับโรงเรียนคุณภาพและรางวัลโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้ได้กรอบรูปแบบ
จำนวน 7 ประเด็น 2) ส ารวจข้อมูลในโรงเรียน ที่เป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโรงเรียนที่เริ่มจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 24 คน
3) สร้างร่างรูปแบบและตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของร่างรูปแบบจากโรงเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 6 คน เป็นผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์ ด้านการสอนหรือบริหารโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่น
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ4) ทดลองใช้ร่างรูปแบบ
ในโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา 5) ปรับปรุงร่างรูปแบบและการรับรองร่าง
รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 6 คน และ 6) เขียนรายงานการวิจัย เพื่อเสนอผลงานทางวิชาการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถามโดยใช้
แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การแปลผลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เนื้อหา
สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อการสรุปผล

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างกรอบรูปแบบได้ ประเด็นในกรอบรูปแบบ 7 ประเด็น คือ 1.1) นักเรียน
มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เรียนต่อ
และประกอบ อาชีพได้ 1.2) หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เน้นผู้เรียน
ส าคัญที่สุด 1.3) อาคาร สถานที่ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และแหล่งการเรียนรู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของ
นักเรียนอย่างหลากหลาย ทุกเวลา ทุกสถานที่ 1.4) โรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานจากภายนอกมีส่วน
ร่วมจัดการศึกษาตามความต้องการของท้องถิ่น 1.5) ครูและบุคลากร มีสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีทันสมัย
และได้รับการพัฒนาคุณภาพครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง 1.6) โรงเรียนมีงบประมาณเพียงพอเน้นด้าน
ผลสัมฤทธิ์ และ 1.7) โรงเรียนจัดการศึกษา การประกันคุณภาพ การศึกษามีประสิทธิภาพ คุณภาพและ
มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่นด้าน
จัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้รูปแบบ S’LCN4M:PAR
ผลการตรวจสอบคุณภาพ ของรูปแบบได้ผลว่า รูปแบบมีคุณภาพ และสามารถน ารูปแบบไปใช้ได้จริง
3. ผลส าเร็จที่ได้จากการทดลองใช้ร่างรูปแบบ ซึ่งเป็นผลส าเร็จที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
ที่จัดการเรียน การสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูผู้สอนและนักเรียนที่เรียน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.1 ผลสำเร็จของโรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบ ผลส าเร็จในด้านการมีหลักสูตร
ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบ
มีหลักสูตร ด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นไปตามเป้าหมาย
และ ตัวชี้วัด และในด้านรางวัลที่โรงเรียนได้รับเป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
3.2 ผลสำเร็จของครูผู้สอนด้านจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ในด้านความรู้ ความสามารถ และการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอน มีผลการประเมิน ใน
ระดับดีมาก เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
3.3 ผลสำเร็จของนักเรียนที่เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่เรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ในระดับดีมาก เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @