รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียน ชุมชนวัดเสด็จ(สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง                    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียน
ชุมชนวัดเสด็จ(สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ปทุมธานี เขต 1

ผู้ประเมิน                  สมคะเน  ดาษดา

ปีที่พิมพ์                    2563

                                       บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP Model ประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูและบุคลากร จำนวน 34 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 177 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 177 คน (กำหนดให้นักเรียน 1 คนต่อผู้ปกครอง 1 คน) ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 401 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบประเมิน  มาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผู้ประเมิน สร้างขึ้น จำนวน 4 ฉบับ และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากร ละคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ 3.51 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถ เรียงลำดับระดับการดำเนินการจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ สรุปได้ดังนี้

1.1 ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  X= 4.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  (X  = 4.56–4.91) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โรงเรียนวางแผนร่วมกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะอาชีพ ในโรงเรียนมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ( = 4.91) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ  การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จ มีความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของโครงการ ( = 4.56) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด  (X  = 4.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด( X= 4.51–4.67) ส่วนข้อที่ 5 โรงเรียนนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพข้อที่6 มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ ข้อที่ 7 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม และข้อที่ 8 ความพร้อมของสถานที่ในการดำเนิน กิจกรรมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33–4.49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ มีการพัฒนาหลักสูตรทักษะอาชีพ ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ อาชีพในท้องถิ่น และความเปลี่ยนแปลงของสังคม (X= 4.67) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อสำหรับสำหรับการเรียนสอนอาชีพ (X= 4.33) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

1.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.51– 4.84) ข้อที่มีค่าเฉลี่ย  สูงที่สุดคือ การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ใช้วงจรการบริหารคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงการประเมินผล การปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม (X = 4.84) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนผู้ปกครองนักเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีการเผยแพร่และขยายผล การปฏิบัติกิจกรรมสู่ผู้ปกครองนักเรียน อย่างสม่ำเสมอ ( = 4.51) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

1.4 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.57–4.77) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 บรรลุวัตถุประสงค์ทุกข้อ ( = 4.69) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การจัดการเรียนการสอนผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย(  = 4.57) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

  1. ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ผู้บริหาร ครูและบุคลากร คณะกรรมการ สถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนชุมชน  วัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1  ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น จึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมี ส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ควรนำผลการประเมินครั้งนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ใน โครงการให้มีความหลากหลายน่าสนใจยิ่งขึ้น
5/5 - (2 votes)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @