การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง  

ผู้วิจัย             นางบุญสิริ  จุติ

สถานศึกษา      โรงเรียนบ้านป่างิ้ว(ราษฎร์บำรุง)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สุโขทัย เขต 2   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีที่เผยแพร่       2563

 

                                              บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ One Group Pretest- Posttest Design  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  โรงเรียนบ้านป่างิ้ว(ราษฎร์บำรุง)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 7  คน   ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด คือ  (1)ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ชุด  (2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น  จำนวน 22 แผน  (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน  30 ข้อ และ (4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test  แบบ dependent

  ผลการวิจัย พบว่า

  1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ  80.29/82.38
  2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 และ 4 เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารผสม หินและการเปลี่ยนแปลง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีความ  พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
1.5/5 - (2 votes)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @