รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring)

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring)
ผู้วิจัย นายธีรวัฒน์   ถาวรโชติ  ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะชำนาญการ
ปีการศึกษา 2564

 

                                            บทคัดย่อ

รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านวิทยาการคำนวณ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring) 3) เพื่อประเมินความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายใน เรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบางกระทุ่ม 2 จำนวน 12 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือข้าราชการครูรักษาราชการแทน  ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 12 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษา (กำหนดให้โรงเรียนละ 2 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 24 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านวิทยาการคำนวณ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
  2. ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง  (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา   ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring) จำนวน 24 คน พบว่า ในภาพรวมผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) อยู่ในระดับมากที่สุด
  3.    ผลการประเมินความสามารถในการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา  จำนวน 12 คน พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
  4.   ความพึงพอใจของครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง  (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ (Coaching and Mentoring) ในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณที่ได้รับการการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง  (Coding) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

 

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @