ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน วัดราชโอรส
ชื่อผู้วิจัย นายบุญชู กล้าแข็ง
ปีการศึกษา 2561-2563
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส ปีการศึกษา 2561-2563 โดยประยุกต์การประเมินโครงการตามตัวแบบ ซิป ของ สตัฟเฟิลบีม ดำเนินการประเมินแบบต่อเนื่องทีละขั้นตอน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส ปีการศึกษา 2561-2563 ประชากรได้จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ คือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครอง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าของเครจซีและมอร์แกน (1970 : 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ
กลุ่มที่ 1 สำหรับการประเมินด้านบริบทของโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
กลุ่มที่ 2 สำหรับการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน และครู ปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวน 108 , 124 และ 119 คน ตามลำดับ
กลุ่มที่ 3 สำหรับการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน และครู ปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวน 108 , 124 และ 119 คน ตามลำดับ
กลุ่มที่ 4 สำหรับการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในประเด็นผลสำเร็จของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 14 คน ครู ปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวน 108 , 124 และ 119 คน ตามลำดับ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวน 338 , 338 และ 341 คน ตามลำดับ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม 5 ฉบับ 1) แบบสอบถามการประเมินด้านบริบท มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 2) แบบสอบถาม การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบสอบถามการประเมินด้านกระบวนการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.84 – 0.94 4) แบบสอบถามการประเมินด้านผลผลิต มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 5) แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมินดังนี้
- ผลการประเมินพบว่าบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปีการศึกษา 2561-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ มีความสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความสามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินพบว่าปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา
2561-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและครู โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการ เรื่องความรับผิดชอบของบุคลากร และความเหมาะสมของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินพบว่ากระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา
2561-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและครู โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อกระบวนการของโครงการทั้ง 6 กิจกรรม เรื่อง การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจนทุกกิจกรรมของโครงการ การกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนทุกกิจกรรมของโครงการ การนำผลการประเมินมาปรับปรุง และพัฒนาให้การดำเนินงานทุกกิจกรรมในโครงการพัฒนาดีขึ้น และผู้บริหารให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินพบว่าผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา
2561-2563 มีดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนวัดราชโอรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ประเมินพบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมพัฒนาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมา กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา กิจกรรมเสริมสร้างนักเรียน กิจกรรมพัฒนานวัตกรรม R.O. Student Care อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมิน ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระบบการ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดราชโอรส ประจำปีการศึกษา 2561 – 2563 พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม มีความพึงพอใจสอดคล้องกันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน วัดราชโอรส ประจำปีการศึกษา 2561 – 2563 การดำเนินการตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรสมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นและเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมในภาพรวมสรุปได้ว่าผลผลิต การดำเนินตามโครงการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราชโอรส พบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นทุกปี