การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2

ผู้วิจัย            นายสุรชัย ศรีจาด

โรงเรียน       โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2

ปีที่พิมพ์         2565

 

                                                บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริม    การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2  วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศไปใช้ และ 4) การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ ได้ใช้ครูทั้งหมดในการทดลองใช้รูปแบบฯ ได้แก่ ครูจำนวน 24 คน แยกเป็น ครูผู้นิเทศจำนวน 8 คน ครูผู้รับการนิเทศจำนวน16 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการนิเทศและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบประเมินความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) แบบประเมินความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 5) แบบประเมินความสามารถด้านการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 6) แบบประเมินผลงานของครูจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นเลิศ (Best Practice) 7. แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน และแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ และ 5) การวัดผลประเมินผล กระบวนการนิเทศ มี 6 ขั้น คือ 1) การสร้างความตระหนัก 2) การวางแผนการนิเทศ 3) การเตรียมการนิเทศ 4) การปฏิบัติการนิเทศ และ 5) การวัดประเมินผลการนิเทศ และ) การสะท้อนผลการนิเทศ 2. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ มีดังนี้ 2.1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศ และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความสามารถด้านการเขียนแผนการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 ความสามารถด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.5 ครูมีผลงานที่เป็นเลิศจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Best Practice) โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ในระดับดี 2.6 ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริม    การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 อยู่ในระดับมาก

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @