ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2
ผู้วิจัย นายสุรชัย ศรีจาด
โรงเรียน โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นแนวคิดของสติฟเฟลบีม (Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ด้านได้แก่ 4.1) การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 4.2) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 4.3) ความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ 4.4) การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตโดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 25 คน นักเรียน จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
)
ผลการประเมิน พบว่า
- การประเมินบริบทของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานตามโครงการจากผู้บริหารโรงเรียนเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและของโรงเรียน โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน
- การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เน้นให้ผู้รับผิดชอบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินงานตามโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การดำเนินกิจกรรมผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ และความสามารถเหมาะสม โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน
- การประเมินกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการพัฒนาครูและบุคลากรในโครงการอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เผยแพร่ผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และผู้ปกครองนักเรียนได้ทราบ โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน
- การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน และสรุปได้ดังนี้
4.1 การประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ อยู่ในระดับมาก
4.2 การประเมินการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ อยู่ในระดับมาก
4.3 การประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวม ครูมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก
4.4. การประเมินผลการพัฒนาทักษะชีวิตโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ นักเรียนมีพฤติกรรมหรือความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น นักเรียนมีพฤติกรรมหรือความสามารถในระดับมากทุกด้าน