การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เกี่ยวกับการอาบน้ำ โดยใช้เทคนิค  การเรียนรู้ผ่านการเห็น (Visual Strategies) ร่วมกับการวิเคราะห์งาน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง           : การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เกี่ยวกับการอาบน้ำ
โดยใช้เทคนิค  การเรียนรู้ผ่านการเห็น (Visual Strategies) ร่วมกับการวิเคราะห์งาน
ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ชื่อผู้วิจัย         : นางระวิวรรณ สุขหนูแดง

ปีการศึกษา      : ๒๕๖๔

หน่วยงาน        : ศูนย์การศึกษพิเศษ ประจำจังหวัดปัตตานี

 

                                        บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเกี่ยวกับการอาบน้ำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเกี่ยวกับการอาบน้ำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการใช้เทคนิคการเรียนรู้ผ่านการเห็น (Visual Strategies) ร่วมกับการวิเคราะห์งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ห้องเตรียมความพร้อมสติปัญญา ๒/๓ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา ๒๕๖๔ อายุระหว่าง ๙ – ๑๒ ปี โดยมีลักษณะความพิการ สมาธิสั้นและเรียนรู้ช้า จำนวน ๔ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ๑) แบบประเมินพฤติกรรมทักษะจำเป็น การอาบน้ำ ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะจำเป็น เรื่องการอาบน้ำ ๓) สื่อรูปภาพประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอาบน้ำ ๔) แบบประเมินพัฒนาการก่อน และหลัง ใช้เทคนิคการเรียนรู้ผ่านการเห็น (Visual Strategies) ร่วมกับการวิเคราะห์งาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากการศึกษาพัฒนาการความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เกี่ยวกับการอาบน้ำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ๒/๓ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ผ่านการเห็น (Visual Strategies) ร่วมกับการวิเคราะห์งาน พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเกี่ยวกับการอาบน้ำ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๓.๑๓๘ คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๗๕ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เกี่ยวกับการอาบน้ำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ๒/๓ หลังการใช้เทคนิคการเรียนรู้ผ่านการเห็น (Visual Strategies) ร่วมกับการวิเคราะห์งาน มีค่าสูงกว่าก่อนใช้ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ ๔.๕๔๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๙๑๗

 

 

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @