การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

KRUPUNMAI SHARE

                                                                 บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย    :       การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภายใต้สถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อ-ชื่อสกุล ผู้ทำวิจัย   : นางสาวจิรสุดา  เรืองเพ็ง

ปีการศึกษาที่ทำวิจัย    : 2563-2564

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูจากนโยบายการเรียนรู้และผลลัพธ์การเรียนรู้ (2) พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู  (3) เปรียบเทียบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยการศึกษาทั้งหมดดำเนินการศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจากสองปีการศึกษา ประกอบด้วย (1) ครู จำนวน 179 คน และ 181 คน (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 349 คน และ 351 คน (3) ผู้ปกครอง จำนวน 349 คน และ 351 คน และ (4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และ 15 คน  เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และ (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่ม 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย การประกาศนโยบายการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจน การให้ข้อมูลข่าวสารนโยบายที่ถูกต้องและทันต่อสถานการณ์แก่ครู การติดตามนโยบายจากส่วนกลาง และประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับครู การกำหนดนโยบายและแผนงานในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู และการส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การส่งเสริมและพัฒนาครูในการเลือกใช้ช่องทางการจัดการเรียนรู้ที่่เหมาะสมกับนักเรียน การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่่เหมาะสม การจัดทำสื่อการเรียนรู้ การวางแผนการประเมินผลนักเรียน และการจัดเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีให้กับครู (2) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับสูง (3) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ (4) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อสมรรถนะการจัดการในระดับมาก

                                                           Abstract

Research Title  : Development of Teachers’ Learning Management Competency during COVID19 Pandemic

Researcher’s Full name: Miss Jirasuda Ruangpeng

Academic Year: 2020-2021

This research aimed to (1) examine the ways to investigate guidelines for developing teachers’ learning management competency generated by learning and learning outcome policy, (2) develop the teachers’ learning management competency, and (3) compare the teachers’ learning management competency, and (4) investigate satisfaction of teachers, students, guardians, and school committee towards teachers’ learning management during COVID-19 pandemic in the academic year of 2020-2021.

Research samples were (1) 179 and 181 teachers, (2) 349 and 351 students, (3) 349 and 341 guardians, and (4) 15 and 15 school committees.

Research instruments were (1) a teachers’ learning management competency during the COVID-19 pandemic evaluation form and (2) a questionnaire on the satisfaction of teachers, students, guardians, and school committees taking charge of learning management competency during the COVID-19 pandemic.

Statistics used for data analysis were content analysis, mean, standard deviation, and independent sample t-test.

The research findings revealed that (1) the guidelines consist of declaration of clear learning management policies, providing accurate and up-to-date information on learning management policies to teachers, monitoring of policies by central authorities, clarification meeting with teachers, formulating policy and plan, and encouraging and developing teachers to understand the policies. The guidelines consist of encouraging and developing teachers in choosing appropriate learning management channels, appropriate learning management design, creating learning media, planning for evaluation, and technology promptness for teachers, (2) teachers’ learning management competency was at a high level, (3) the competency in 2020 had lower mean value than in 2021 at the significance level of .001, and (4) the satisfaction of teachers, students, guardians, and the committee was at a high level.

5/5 - (2 votes)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

ผลการใช้แอปพลิเคชัน In-House พัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @