ชื่อผลงาน การส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community
: SLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด
ของโรงเรียนคุณภาพมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
สุราษฎร์ธานี ชุมพร
ผู้รายงาน นางวัชรี แสงอรุณ
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ปีที่รายงาน 2565
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ 2) เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร คณะครูและผู้ปกครองโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาและโรงเรียน Stand Alone โดยการเลือกแบบเจาะจงเนื่องจากเป็นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ คือ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา และโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 โดยจำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คน ครูผู้สอน 40 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน ตัวแทนผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้รายงานได้ศึกษาแนวคิดการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ศึกษาสภาพและความต้องการจากกระบวนการประเมินตนเอง เพื่อกำหนดเป็นขอบเขตของการนิเทศโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด วางแผนการนิเทศ การให้ความรู้ก่อนการนิเทศส่งเสริม/พัฒนาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ PLAN DO SEE การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดปฏิบัติการนิเทศ Coaching ส่งเสริมให้โรงเรียน (ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน) ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุปัญหา จัดกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้ตามกระบวนการ PLAN DO SEE และการประเมินผลการนิเทศ
ผลการศึกษาพบว่า
การส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community: SLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดของโรงเรียนคุณภาพมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปพัฒนาสถานศึกษาอื่น โดยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศ (ผู้บริหาร ครูแกนนำ (Model Teacher) ของโรงเรียนที่ร่วมโครงการ 2 โรงเรียน จำนวน 45 คน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากและมากที่สุด จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ (ตัวแทนผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน)ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากและระดับมากที่สุด จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 86.52