การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) ปีการศึกษา 2564

KRUPUNMAI SHARE

การเผยแพร่ผลงาน

รายงาน          การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร)                          ปีการศึกษา 2564

หัวข้อรายงาน   การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร)

ชื่อผู้ประเมิน     นางกฤติมา หาญมนตรี  รองผู้อำนวยการโรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร)

ปีที่เผยแพร่      2565

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2. ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4. ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปโมเดล (CIPP Model)

ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่

  1. ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน (ไม่รวมผู้วิจัย)
  2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน

(ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู)

  1. ครู จำนวน 33 คน
  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 47 คน
  3. ผู้ปกครองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 47 คน

ประชากรได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งหมด 142 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) ปีการศึกษา 2564 ปรากฏผลดังนี้

  1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.11,σ=0.25) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน (μ=4.70,σ=0.45) 2) วัตถุประสงค์ของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (μ=4.64, σ=0.48) 3) การดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นงานที่จำเป็นของโรงเรียน (μ=4.43, σ=0.54) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินงานและระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ มีความเหมาะสมและปฏิบัติได้จริง (μ=3.43, σ=0.68)

 

  1. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.08,σ=0.30) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียง 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย นโยบาย ในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน (μ=4.77,σ=0.42) 2) มีเครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ (μ=4.64,σ=0.48) 3) คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง (μ=4.52,σ=0.50) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ มีการประสานงานกับบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกโรงเรียนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (μ=3.56, σ=  0.87)
  2. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (μ= 4.10,σ=0.13) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีการนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (μ=4.75,σ=0.43) 2) โรงเรียนรายงานและช่วยเหลือนักเรียนในส่วนที่เปิดเผยได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ (μ=4.56,σ=0.50) 3) มีการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ (μ=4.41, σ=0.53) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ มีการรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ (μ=3.70,σ=0.61)
  3. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.09,σ=0.21) โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับยาเสพติด เพศ และสิ่งมอมเมาอื่นๆ (μ=4.68,σ=0.46) 2) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ (μ=4.56,σ=0.50) 3) ชุมชนเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นและให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน (μ=4.47,σ=0.50) ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี รู้จักดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองได้ (μ=3.37, σ=0.53)
  4. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.01,σ=0.26) พบว่า ข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจ ได้แก่ นักเรียนได้รับคำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือด้านการเรียนและความประพฤติ (μ=4.74,σ=0.44) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนได้รับคำแนะนำในด้านการป้องกันตนเองจากยาเสพติด และการพ้นภัยต่างๆจากสังคม (μ=4.48,σ=0.50) และ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย (μ=4.44,σ=0.50) ตามลำดับ และข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมที่เสริมคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาจิตใจ เช่นกิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรม วันสำคัญทางศาสนา และกิจกรรมสวดมนต์นั่งสมาธิ  (μ=3.44,σ=0.74)

 

  1. การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.26,σ=0.27) พบว่า ข้อที่ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ได้แก่ ชุมชนเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นและให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน (μ=4.72,σ=0.45) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือ การป้องกัน คุ้มครองและแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเหมาะสม (μ=4.65,σ=0.47) และนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับยาเสพติด เพศ และสิ่งมอมเมาอื่นๆ (μ= 4.53,σ=0.50) ตามลำดับ และข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี รู้จักดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองได้ (μ=3.44,σ=0.85)

 

 

 

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @