รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3             

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง          รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ
(จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

ชื่อผู้ประเมิน    นางปวีณา  เพ็งแสงทอง  ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ
(จ่างอนุเคราะห์)

ปีการศึกษา     2564

                                                   บทคัดย่อ

 

                รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ  (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านสภาวะแวดล้อม  (Context) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน  (Process) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 143 คน ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ (จ่างอนุเคราะห์) จำนวน 8 คน1คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน                       จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 64 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564  โดยเริ่มจากวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564  ถึง 31 มีนาคม  พ.ศ. 2565  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน  5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

   ผลการประเมินโครงการ พบว่า

  1. ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ  (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยภาพรวม   ทุกรายการ มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.31) เมื่อแยกเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุดได้แก่ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีความสำคัญ และผู้ปกครองมีการประสานงานกับสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83,S.D.= 0.39) รองลงมาได้แก่ โรงเรียนจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ครูมีเวลาในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนและโรงเรียนสามารถบริหารจัดการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเป็นระบบความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.67,S.D.= 0.49) และความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในสภาพสังคมปัจจุบัน ผู้บริหารมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน และผู้ปกครองให้ความร่วมมือ เอาใจใส่ ดูแลนักเรียน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58 , S.D.= 0.67) ประเด็นที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมีขอบเขตของระยะเวลาที่แน่นอน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (= 4.17 ,S.D.= 0.72)
  2.    ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ    (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยภาพรวม   ทุกรายการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D.= 0.29) เมื่อแยกเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุดได้แก่ คณะกรรมการฯมีการกำหนดแผนงาน หรือปฏิทินปฏิบัติงานชัดเจน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.40 , S.D.= 0.63) รองลงมาได้แก่ โรงเรียนมีเอกสารแบบฟอร์มต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบถ้วน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.31 , S.D.= 0.72) และโรงเรียนได้สนับสนุนงบประมาณหรือยานพาหนะในการไปเยี่ยมบ้านนักเรียนของครูที่ปรึกษา, ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการส่งเสริมป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน ,ครูที่ปรึกษา หรือหัวหน้างานนำข้อมูลสารสนเทศมาดำเนินการเพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียนและผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการอำนวยการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.20 , S.D.= 0.73) ประเด็นที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ ข้อมูล เอกสาร และเครื่องมือในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้จัดเก็บรักษาอย่างปลอดภัย และเป็นระบบสะดวกแก่การใช้งานความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=3.93 , S.D.= 0.66)
  3.   ด้านกระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาพรวมอยูในระดับมาก (= 4.25, S.D.= 0.11) เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่าส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ การจัดกิจกรรมแนะแนว มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58, S.D.= 0.24) รองลงมาได้แก่การส่งเสริมพัฒนานักเรียนหลากหลายมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (= 4.39, S.D.= 0.43) และการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข (= 4.32, S.D.=0.50) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด ได้แก่ การนิเทศติดตามประเมินผลและรายงานผล ( =3.91, S.D.= 0.50)
  4.   ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า

4.1 ด้านผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ  (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยภาพรวม    ทุกรายการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.27,S.D.= 0.39) เมื่อแยกเป็นรายประเด็น พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมีประสิทธิภาพมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.45, S.D.= 0.66) รองลงมา ได้แก่ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมีประสิทธิภาพมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.38, S.D.= 0.68) ข้อที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ นักเรียนได้รับการดูแลให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี สามารถเข้าสังคม และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (= 4.04 ,S.D.= 0.67)

4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3  ตามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวม      มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  (= 4.46 , S.D.= 0.17) เมื่อแยกเป็นรายประเด็น พบว่าข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ โรงเรียนให้ความสำคัญในโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55 , S.D.= 0.56) รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54 , S.D.= 0.57) และข้อที่มีผลการประเมินต่ำสุด คือ ครูที่ปรึกษาได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D.= 0.63)

 

 

 

                      กิตติกรรมประกาศ

 

รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเหล่าขวัญ   (จ่างอนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เล่มนี้สำเร็จ ลงด้วยความเรียบร้อยโดยได้รับความอนุเคราะห์และความกรุณาช่วยเหลืออย่างดียิ่งจาก ดร.พยอม วงศ์พูล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ผู้รายงานขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณคณะผู้เชี่ยวชาญที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพและความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม และให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหลายท่าน คือ   นายพงษ์ศักดิ์ บุญเหลือ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวัดโบสถ์(บำรุงวุฒิวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3  นางณัฐธยาน์ ชมภูน้อย ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนวัดบ้านน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 นางสาวพรปวีณ์  หนูทิม ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษโรงเรียนวัดทองแท้ (จ่างอนุกูลพิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ดร.บุศรินทร์  ใจวังโลก ตำแหน่งศึกษานิเทศก์     วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และ            ดร.ประภาพร ศิริสกุลวัฒนาพร  ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา

ขอขอบพระคุณ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและ    ขอขอบใจคณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนวัดเหล่าขวัญ (จ่างอนุเคราะห์) ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเพื่อการศึกษาในครั้งนี้

ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดาซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดู สั่งสอนและอบรม ให้ประพฤติปฏิบัติแต่คุณงามความดี  ทำให้ผู้ศึกษาบรรลุผลสำเร็จมาจนบัดนี้

ผู้รายงานมีความซาบซึ้งในความกรุณาของทุกท่านที่ได้กล่าวถึงและผู้ที่ไม่ได้เอ่ยนาม     ในที่นี้ซึ่งได้มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนและให้กำลังใจด้วยดีตลอดมา  จึงขอกราบขอบคุณทุกท่านด้วยความจริงใจ

คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากรายงานการประเมินโครงการเล่มนี้  ผู้จัดทำขอมอบเป็นกตเวทิตาคุณแด่ บิดา มารดา ครู อาจารย์ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องและผู้มีพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนและเป็นกำลังใจ ผู้จัดทำขอน้อมคารวะแด่ผู้เขียนตำราวิชาการที่ได้ศึกษาค้นคว้าและได้อ้างอิงทุกท่าน

 

ปวีณา  เพ็งแสงทอง

 

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @