การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน  เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้     ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัด เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  (RAIDS Model)

KRUPUNMAI SHARE

บทคัดย่อ

 ชื่อเรื่อง               การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน  เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการจัดการเรียนรู้     ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัด
เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  (RAIDS Model)

ชื่อผู้วิจัย             นางอรอินทร์  วงษ์แปลง  ตำแหน่ง  ศึกษานิเทศก์
วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

ปีที่วิจัย               ปีการศึกษา  2565

 

                                    บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research & Development ) มีวัตถุประสงค์  ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  2)  เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  และ 4)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1  ได้แก่  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช    2542    แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่  2 )  พุทธศักราช  2545  และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบกับแผนงาน/โครงการนิเทศภายใน ,  แนวคิดหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน ได้แก่  ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง , ทฤษฎีแรงจูงใจ, ทฤษฎีภาวะผู้นำ  และทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และแนวคิด  หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ,ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผู้บริหารสถานศึกษาและประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน 5 คน  ตรวจสอบความเหมาะสม สอดคล้อง , นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดทองพุ่มพวง) จำนวน 40  คน   ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  แหล่งข้อมูล กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  12  คน  และครูหัวหน้าวิชาการโรงเรียน จำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 298 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน  2)  แผนการนิเทศการสอน และ 3) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรมข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา ( content analysis ) สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ (% ) การหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ( S.D. )  และค่าที ( t-test  dependent )

            ผลการวิจัย

  1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า เป้าหมายของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้ความสำคัญกับการอ่านโดยเฉพาะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยระบุคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สามารถแยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และจากการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความคิดเห็นว่ากระบวนการนิเทศการสอนสามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทยซึ่งสอดคล้องกับผลการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สรุปว่าการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาไทยยังขาดประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียน จึงควรสนับสนุนให้ครูร่วมกันวางแผนและพัฒนาเทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนที่มีกระบวนการที่เป็นระบบและตอบสนองตามศักยภาพของครูแต่ละคนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพและสมรรถนะของครู โดยมีแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยเพียงพอคอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  1
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 5 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ขั้นการสร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing: R )  ขั้นตอนที่  2  ขั้นการประเมินเบื้องต้น (Assessing: A ) ขั้นตอนที่  3  ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศการสอน (Informing: I  )  ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการปฏิบัติการนิเทศการสอน (Doing: D) ซึ่งประกอบด้วยการนิเทศการสอน 3 วิธี  ได้แก่ 1)  การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล (Directive Informational )  2) การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative) และ 3) การนิเทศแบบไม่ชี้นำ (Nondirective) โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติการ ดังนี้ 1) ประชุมก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน และ 3) การประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ   และขั้นตอนที่  5  ขั้นการสรุปและประเมินผลการนิเทศการสอน (Summarizing and evaluation: S ) มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน  อยู่ในระดับมากที่สุด  โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.07  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  2
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า จากการนำรูปแบบการนิเทศการสอนไปทดลองใช้กับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จำนวน 12  คน และครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน จำนวน 10 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  ผลการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการของรูปแบบการนิเทศการสอน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3  ดังนี้ผลของการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 ขั้นการสร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing: R ) ครูผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศการสอนรู้และเข้าใจพร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญและจุดประสงค์ของการนิเทศการสอนและการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนเกิดความมั่นใจและมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ , ขั้นตอนที่  2 ขั้นการประเมินเบื้องต้น (Assessing: A )  สามารถจำแนกครูตามสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้วยการประเมินตนเอง  เพื่อรับการนิเทศการสอนตามแนวคิดการนิเทศการสอนแบบพัฒนาการของกลิ๊กแมน ได้แก่ 1)  การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล (Directive Informational )  2) การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative) และ 3) การนิเทศแบบไม่ชี้นำ (Nondirective) ส่งผลให้ครูผู้รับการนิเทศด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง  ขั้นตอนที่  3  ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศการสอน (Informing: I  )  ครูผู้นิเทศการสอนมีความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนและการสังเกตการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากการเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ  , ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการปฏิบัติการนิเทศการสอน (Doing: D) ผู้นิเทศการสอนดำเนินการจัดประชุมก่อนการนิเทศทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศการสอน และจากการสังเกตการสอนแบบกัลยาณมิตรทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการอีกทั้งการประชุมหลังการนิเทศเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับทำให้เกิดการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้น และขั้นตอนที่  5  ขั้นการสรุปและประเมินผลการนิเทศการสอน (Summarizing and evaluation: S ) จากการประเมินผลโดยการทดสอบหรือการประเมินตนเองและผู้วิจัยประเมินทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน โดยเฉพาะการสนทนากลุ่มเพื่อสะท้อนความคิดจากการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนมีคะแนนด้านความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนของผู้นิเทศอยู่ในระดับสูงมาก (= 17.10 , S.D.= 1.14 , %=85.50, S.D.=5.68 ) สูงกว่าก่อนการใช้ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (= 10.3 , S.D.= 1.10, %=51.50, S.D.=5.50 ) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4.1 และด้านความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของผู้รับการนิเทศการสอนอยู่ในระดับสูงมาก (= 17.08 , S.D.= 0.95 , %=85.42, S.D.=4.77 )     สูงกว่าก่อนการใช้ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ  (= 9.83 , S.D.= 0.99, %=49.17, S.D.=4.93 )  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  4.2  และด้านความสามารถในการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ พบว่า หลังการใช้ผู้นิเทศการสอนมีผลการประเมินด้านความสามารถในการนิเทศการสอนทั้งโดยการประเมินตนเองและผู้วิจัยประเมินอยู่ในระดับสูงมาก (= 16.90 , S.D.= 0.70,%=84.50 , S.D. 3.50 ) และผู้วิจัยประเมิน (= 16.70 , S.D.= 0.64,%=83.50 , S.D. 3.20 )  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  4.3 และด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของผู้รับการนิเทศการสอน อยู่ในระดับสูงมากทั้งโดยการประเมินตนเอง (= 16.50 , S.D.= 0.65,%=82.50 , S.D. 3.23 ) และผู้วิจัยประเมิน (= 17.50 , S.D.= 0.50,%=87.50 , S.D. 2.50 )  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  4.4  และจากการสังเกตการสอนขณะดำเนินการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนก็มีพัฒนาการทั้งผู้นิเทศการนิเทศการสอนและผู้รับการรับการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test  dependent ) เท่ากับ 4.743 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  5  และมีผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยมีคะแนนเฉลี่ย (  )  เท่ากับ  4.68  และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.50   คะแนนเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่  6
3.5/5 - (4 votes)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @