ชื่องานวิจัย การพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา
ผู้วิจัย นางสาวกุลธิดา พรมทอง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะนาคา
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ NAKA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา โดยใช้ NAKA Model 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานและความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผล การดำเนินงานการนิเทศภายในและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานและความคาดหวังที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา และฉบับที่ 2 แบบสอบถามผลการดำเนินงานและความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา
ผลการวิจัย มีดังนี้
- ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ว่า
1.1 ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ และด้านการปฏิบัติการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ และด้านการรายงานผลการนิเทศ และด้านการประเมินผลสะท้อนผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยตามลำดับ
1.2 ความคาดหวังที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารและการจัดการโรงเรียน และด้านคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ
1.3 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 มีดังนี้
1.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียน มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 72.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
1.3.2 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 7 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 70.42 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีคะแนนเฉลี่ย 61.14 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีคะแนนเฉลี่ย 79.71
1.3.3 ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 35.00 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านภาษา มีคะแนนเฉลี่ย 35.00 และด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 35.00
- ผลการพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา สรุปได้ว่า กระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย กฎและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บริบทของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษา ภาคีเครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) กระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model คือ N : Nurse การมุ่งเน้นการดูแลนักเรียนอย่างรอบด้าน A : Aims การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ K : Knowledge การพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน และ A : Attitude การสร้างเจตคติที่ดีให้แก่นักเรียน ซึ่งในกระบวนการนิเทศภายใน จะดำเนินการ 7 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) การเตรียมความพร้อม (2) การสร้างความรู้ความเข้าใจ (3) การวางแผนการนิเทศ (4) การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ (5) การปฏิบัติการนิเทศ (6) การประเมินและสะท้อนผล และ (7) การรายงานผลการนิเทศ โดยมีการดำเนินงานภายใต้วงจร PDCA และองค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Output) เป็นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (RT) และผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ
- ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียบ้านเกาะนาคา โดยใช้ NAKA Model สรุปได้ว่า
3.1 ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา โดยใช้ NAKA Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประเมินและสะท้อนผล ด้านการรายงานผลการนิเทศ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเตรียมการนิเทศภายใน ด้านการปฏิบัติการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ และด้านการวางแผนการนิเทศภายใน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3.2 ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารและการจัดการโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในยระดับมากที่สุด ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2564 มีดังนี้
3.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 91.66 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
3.3.2 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 90.20 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีคะแนนเฉลี่ย 83.60 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีคะแนนเฉลี่ย 96.80
3.3.3 ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 46.75 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านภาษา มีคะแนนเฉลี่ย 48.00 และด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 45.50
- ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานการนิเทศภายในและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา สรุปได้ว่า
4.1 ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าผลการดำเนินงานการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2563 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
4.2 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าความคาดหวังที่มีต่อการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2563
4.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 – 2564 พบว่า คะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 มีผลคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2563 เท่ากับ 13.23
4.4 การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ย 2 ด้าน 70.42 และปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 90.20 โดยมีผลต่างเพิ่มขึ้น 19.78
4.5 ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ย 2 ด้าน 35.00 และปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 46.75 โดยมีผลต่างเพิ่มขึ้น 11.75
คำสำคัญ : การนิเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ