ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านอิฐ (รัฐประชานุกูล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
ผู้ประเมิน นายชูเกียรติ ยิ่งยงยุทธ
สังกัด โรงเรียนวัดบ้านอิฐ (รัฐประชานุกูล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านอิฐ(รัฐประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านอิฐ (รัฐประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ในด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ด้านผลกระทบของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านอิฐ (รัฐประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ที่มีต่อบ้าน ชุมชน และโรงเรียน โดยการประเมินตามรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 93 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 42 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินการดำเนินโครงการโดยภาพรวม จากการประเมินของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา มีความเหมาะสม/สอดคล้อง/และการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.34) ด้านบริบทของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.37) ด้านปัจจัยนำเข้า
ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86, S.D. = 0.27) ด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.34) และด้านผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.78, S.D. = 0.38)
2. ผลการประเมินจากความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการด้านผลผลิต
ที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมคุณธรรม 8 ประการ คือ 1) รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีความกตัญญู 4) ประหยัดอดออม 5) มีวินัย 6) ใฝ่เรียนรู้ 7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ หลังจากการดำเนินโครงการ ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติและเหมาะสมในระดับ
มากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.54)
3. ผลการประเมินจากความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการด้านผลผลิต ที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมคุณธรรม 8 ประการ หลังจากการดำเนินโครงการ ในภาพรวม มีการปฏิบัติและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.64)
4. โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีในการปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ผลที่เกิดขึ้นมีความสอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน นักเรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ที่บ้านนักเรียนมีการช่วยเหลืองานผู้ปกครองและทำความสะอาดบริเวณบ้านมากขึ้นจนทำเป็นนิสัย นักเรียนมีจิตสาธารณะเพื่อสังคมและการบำเพ็ญประโยชน์มากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมกับวัดและชุมชนร่วมกับผู้ปกครองมากขึ้น ได้แก่ ร่วมทำบุญและตักบาตรในวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ สนใจเข้าร่วมกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณีของไทยมากขึ้น เช่น แห่เทียนเข้าพรรษา เวียนเทียนวันมาฆบูชา สรงน้ำพระวันสงกรานต์