KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์เห่เรือ ตามแนวทฤษฎี
                 คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (RAKTHAI Model)

ผู้วิจัย       นางภูสิริน  ตาอิ่น
ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อำเภอแม่อาย   จังหวัดเชียงใหม่
สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ปีที่ศึกษา   ปีการศึกษา 2565

                                                                                     บทคัดย่อ

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์เห่เรือ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (RAKTHAI Model) ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์เห่เรือ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (RAKTHAI Model)  คู่มือการใช้รูปแบบฯ  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบทดสอบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ Dependent

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ  วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา และการวัดและประเมินผล ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีชื่อเรียกว่า “RAKTHAI Model” มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมก่อนเพิ่มความรู้ใหม่ (R = Review)  ขั้นที่ 2 แนะนำให้สืบค้นหาความรู้ร่วมกัน (A = Active learning)  ขั้นที่ 3 สร้างสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความคิด (K = Knowledge sharing)  ขั้นที่ 4 ใช้วิจารณญาณวิจารณ์สรุปประเด็น (Take summary)  ขั้นที่ 5 เชื่อมโยงให้เห็นเป็นเหตุการณ์ในชีวิต (Highlight example)  ขั้นที่ 6 นำเสนอความคิดสู่เรื่องราวที่มีอยู่จริง (Actually present) และขั้นที่ 7 เผยแพร่ความรู้สู่สังคมออนไลน์ (Internet network)  ผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด  2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์เห่เรือ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (RAKTHAI Model) พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

คำสำคัญ :  รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย, กาพย์เห่เรือ,  ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์,

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE
@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @