KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย นางสาวศริญญา คำมา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย 2565
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

                                                                                     บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนในการคิดวิเคราะห์ตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา มีขั้นตอนในการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) : เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) : เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) : เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Developmtnt : D2) : เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนรู้

ผลการวิจัยพบว่า

1. จากการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ ชึ่งได้พัฒนาตามหลักการ และแนวคิด การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แนวคิดเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ โดยรูปแบบการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้ ตามรูปแบบ PONSSE Model มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P) ขั้นที่ 2 ขั้นแจ้งจุดประสงค์ (Objective : O) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างความรู้ (Native Knowledge : N) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summaizing : S) และขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) องค์ประกอบที่ 4 สาระความรู้ ทักษะกระบวนการและสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 5 ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.6/84.8 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75/75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำนดไว้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 91.42 ของอจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75
2.3 ความพึงพอใจมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง พันธุกรรมและวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด (̅ = 4.63, SD = 0.72)

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE
@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @